วันพฤหัสบดีที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2558

การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน

               สุทิน ณ สุวรรณ (http://suthinnaa.blogspot.com/2012/12/problem-based-learning.html) 
ได้กล่าวไว้ว่า
               การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based learning หรือ PBL) เป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นจากแนวคิดตามทฤษฎีการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์นิยม (Constructivism) โดยให้ผู้เรียนสร้างความรู้ใหม่ จากการใช้ปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในโลก  เป็นบริบท (context) ของการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะในการคิดวิเคราะห์และคิดแก้ปัญหา   รวมทั้งได้ความรู้ตามศาสตร์ในสาขาวิชาที่ตนศึกษา ไปพร้อมกันด้วย การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานจึงเป็นผลมาจากกระบวนการทำงานที่ต้องอาศัยความเข้าใจและการแก้ไขปัญหาเป็นหลักถ้ามองในแง่ของ ยุทธศาสตร์การสอน PBL เป็นเทคนิคการสอน ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง  เผชิญหน้ากับปัญหาด้วยตนเอง จะทำให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะในการคิดหลายรูปแบบ เช่น การคิดวิจารณญาณ คิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิดสร้างสรรค์ ฯลฯ
รูปแบบของการจัดการเรียนรู้แบบ การใช้ปัญหาเป็นฐาน หรือ  PBL  พอจะกล่าวได้ดังนี้
          1.   ให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้อย่างแท้จริง (student-centered learning)
          2.   จัดกลุ่มผู้เรียนให้มีขนาดเล็ก (ประมาณ 35  คน)
          3.   ครูทำหน้าที่ เป็นผู้อำนวยความสะดวก (facilitator) หรือผู้ให้คำแนะนำ  (guide)
          4.   ใช้ปัญหาเป็นตัวกระตุ้น (สิ่งเร้า)ให้เกิดการเรียนรู้
          5.   ลักษณะของปัญหาที่นำมาใช้ ต้องมีลักษณะคลุมเครือ  ไม่ชัดเจน   มีวิธีแก้ไขปัญหาได้อย่าง 
                หลากหลาย  อาจมีคำตอบได้หลายคำตอบ
          6.   ผู้เรียนเป็นผู้แก้ปัญหาโดยการแสวงหาข้อมูลใหม่ ๆ ด้วยตนเอง (self-directed learning)
          7.   การประเมินผล  ใช้การประเมินผลจากสถานการณ์จริง(authentic assessment)  ดูจากความ         
                สามารถในการปฏิบัติของผู้เรียน   
               การเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน  เป็นกระบวนการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้เรียนตั้งสมมติฐาน  สาเหตุและกลไกของการเกิดปัญหานั้น  ค้นคว้าความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับปัญหา เพื่อจะนำไปสู่การแก้ปัญหาต่อไป  โดยผู้เรียนอาจจะไม่มีความรู้ในเรื่องนั้นๆ มาก่อน แต่อาจใช้ความรู้ที่ผู้เรียนมีอยู่เดิมหรือเคยเรียนมา  วิธีการเรียนรู้ตามแนวทางที่มีลักษณะที่สำคัญ คือ
          1.   เรียนรู้ความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวข้องของปัญหานั้นๆ เน้นกระบวนการคิดอย่างมีเหตุผล
                และเป็นระบบ
          2.   เนื้อหาวิชาจะเป็นลักษณะของการบูรณาการ (Integration) โดยผสมผสานเนื้อหาของ
                หลายๆ วิชาเข้าด้วยกัน
          3.   เรียนเป็นกลุ่มย่อย โดยมีอาจารย์ประจำกลุ่ม (Facilitator) เป็นผู้สนับสนุนและกระตุ้น
                นักเรียนต้องร่วมกันสร้างบรรยากาศที่ส่งเสริมการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นในกลุ่ม
          4.   การเรียนรู้และค้นคว้าหาความรู้ตามวัตถุประสงค์ที่ตนเองหรือกลุ่มตั้งไว้ 
                (self-directed  learning) 
ขั้นตอนของการเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
          Step 1    อธิบายคำศัพท์หรือข้อความที่ไม่เข้าใจ ทำความเข้าใจกับศัพท์หรือความหมายต่างๆ ของคำจากปัญหาที่ให้ นักเรียนต้องพยายามหาคำตอบให้ชัดเจนโดยอาศัยความรู้พื้นฐานของสมาชิกในกลุ่ม หรือจากเอกสารตำราต่างๆ
          Step 2    อธิบายว่าเป็นปัญหาอะไร จับประเด็นข้อมูลที่สำคัญหรือปัญหาให้ถูกต้อง
          Step 3    ระดมสมอง (Brain storm) โดยพยายามตอบคำถามหรือสาเหตุที่มาของปัญหาที่อธิบายไว้ใน Step 2 ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้
          Step 4    วิเคราะห์ปัญหา (Analyzing the problem) พยายามหาเหตุผลที่จะอธิบายปัญหาหรือข้อมูลที่พบ พร้อมกับตั้งสมมติฐานที่เป็นไปได้ ในการอธิบายหรือหาสาเหตุที่มาของปัญหานั้นๆ โดยลองพยายามใช้ความรู้เดิมที่นักเรียนมีอยู่หรือเคยเรียนมาแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล จัดลำดับความสำคัญของสมมติฐาน
           Step 5    กำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้/สร้างประเด็นการเรียนรู้ เพื่อค้นคว้าข้อมูลที่อธิบายหรือพิสูจน์สมมติฐานที่ตั้งไว้
           Step 6    ค้นคว้าหาความรู้หรือข้อมูลด้วยตนเอง พร้อมทั้งประเมินความถูกต้องโดยอาศัยสื่อการเรียนรู้ต่างๆ
           Step 7    รายงานผลการศึกษาต่อกลุ่ม (Reporting) นำความรู้ที่ได้มาวิเคราะห์ อธิบายแก้ไขสมมติฐานที่ตั้งไว้ สรุปเป็นข้อสรุปและหลักการที่ได้จากการศึกษาปัญหา เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มย่อยการเรียนการสอนแบบ PBL เป็นการเรียนการสอนอีกรูปแบบใหม่ที่ครูสามารถนำไปใช้จัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะการคิดของนักเรียน
                       
                       ยรรยง สินธุ์งาม http://www.vcharkarn.com/blog/37131 ได้กล่าวไว้ว่า
                       การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based learning หรือ PBL) เป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นจากแนวคิดตามทฤษฎีการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์นิยม (Constructivism) โดยให้ผู้เรียนสร้างความรู้ใหม่ จากการใช้ปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในโลก  เป็นบริบท (context) ของการเรียนรู้   เพื่อให้ผู้เรียนเกิดทักษะในการคิดวิเคราะห์และคิดแก้ปัญหา   รวมทั้งได้ความรู้ตามศาสตร์ในสาขาวิชาที่ตนศึกษา ไปพร้อมกันด้วย การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานจึงเป็นผลมาจากกระบวนการทำงานที่ต้องอาศัยความเข้าใจและการแก้ไขปัญหาเป็นหลัก ถ้ามองในแง่ของ ยุทธศาสตร์การสอน    PBL เป็นเทคนิคการสอน ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง  เผชิญหน้ากับปัญหาด้วยตนเอง จะทำให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะในการคิดหลายรูปแบบ เช่น การคิดวิจารณญาณ คิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิดสร้างสรรค์ ฯลฯ
                รูปแบบของการจัดการเรียนรู้แบบ การใช้ปัญหาเป็นฐาน หรือ  PBL  พอจะกล่าวได้ดังนี้
          1.   ให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้อย่างแท้จริง (student-centered learning)
          2.   จัดกลุ่มผู้เรียนให้มีขนาดเล็ก (ประมาณ 35  คน)
          3.   ครูทำหน้าที่ เป็นผู้อำนวยความสะดวก (facilitator)   หรือผู้ให้คำแนะนำ  (guide)
          4.   ใช้ปัญหาเป็นตัวกระตุ้น (สิ่งเร้า)ให้เกิดการเรียนรู้
          5.    ลักษญะของปัญหาที่นำมาใช้ ต้องมีลักษณะคลุมเครือ  ไม่ชัดเจน  มีวิธีแก้ไขปัญหาได้อย่าง
                 หลากหลาย  อาจมีคำตอบได้ หลายคำตอบ
          6.    ผู้เรียนเป็นผู้แก้ปัญหาโดยการแสวงหาข้อมูลใหม่ ๆ ด้วยตนเอง (self-directed learning)
          7.    การประเมินผล  ใช้การประเมินผลจากสถานการณ์จริง(authentic assessment) ดูจากความ 
                 สามารถในการปฏิบัติ ของผู้เรียน
    
                         สุธาสินี เจียประเสริฐ (http://61.19.73.142/km/?p=1194) ได้กล่าวไว้ว่า
                         การเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน เป็นกระบวนการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้เรียนตั้งสมมติฐาน สาเหตุและกลไกของการเกิดปัญหานั้น ค้นคว้าความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับปัญหา เพื่อจะนำไปสู่การแก้ปัญหาต่อไปโดยผู้เรียนอาจจะไม่มีความรู้ในเรื่องนั้นๆมาก่อน แต่อาจให้ความรู้ที่ผู้เรียนมีอยู่เดิมหรือเคยเรียนมา วิธีการเรียนรู้ตามแนวทางที่มีลักษณะที่สำคัญคือ
          1.   การเรียนรู้ความรู้พื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับปัญหานั้นๆ เน้นกระบวนการคิดอย่างมีระบบเป็นเหตุผล
          2.   เนื้อหาวิชาจะเป็นลักษณะของการบูรณการ (Integration) โดยผสมผสานเนื้อหาของหลายๆ 
                วิชาเข้าด้วยกันเพื่อที่จะอธิบายปัญหา
          3.   เรียนเป็นกลุ่มย่อย โดยมีอาจารย์ประจำกลุ่ม (Facilitation) เป็นผู้สนับสนุนและกระตุ้นนักศึกษา
                ต้องร่วมกันสร้างบรรยากาศที่ส่งเสริมการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นในกลุ่ม
          4.   การเรียนรู้และค้นคว้าหาความรู้ตามวัตถุประสงค์ที่ตนเองหรือกลุ่มตั้งไว้ (Self-directed learning)
ขั้นตอนของการเรียนโดยให้ปัญหาเป็นฐานมี ดังนี้
           Step 1 อธิบายคำศัพท์ที่ไม่เข้าใจ (Clarifying Unfamiliar Terms) กลุ่มผู้เรียนทำความเข้าใจคำศัพท์   และข้อความที่ปรากฏอยู่ในโจทย์ปัญหาให้ชัดเจน
          Step 2 ตั้งปัญหา (Problem Definition) กลุ่มผู้เรียนร่วมกันระบุประเด็นปัญหาหลักจากโจทย์ปัญหาที่สงสัยหรือต้องการคำตอบหรือคำอธิบายว่าเกี่ยวกับอะไรบ้าง
          Step 3 ระดมสมอง (Brainstorm) กลุ่มผู้เรียนระดมสมองเพื่อตอบหรืออธิบายคำถามสั้นๆ ที่ระบุไว้ในขั้นตอนที่ 2 ให้ครบทุกประเด็น โดยอาศัยความรู้เดิมของสมาชิกกลุ่ม ยึดหลักทุกความคิดเห็นมีค่าไม่ปิดกั้น
          Step 4 การวิเคราะห์ปัญหา (Analyzing the Problem) กลุ่มผู้เรียนอภิปรายรายละเอียดข้อมูลจากการระดมสมองให้เหตุผลวิเคราะห์เชื่อมโยงข้อมูลตั้งสมมติฐานและรวบรวมแนวคิดของกลุ่ม
          Step 5 สร้างประเด็นการเรียนรู้ (Analyzing the Problem) กลุ่มผู้เรียนกำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้เพื่อค้นหาข้อมูลที่จะอธิบายผลการวิเคราะห์ที่ตั้งไว้ กลุ่มร่วมกันสรุปว่าความรู้ส่วนใดรู้แล้ว ส่วนใดที่ยังไม่รู้ จำเป็นต้องไปศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม เพื่อที่จะได้อธิบายปัญหานั้น
          Step 6 ค้นคว้าหาความรู้หรือข้อมูลด้วยตนเอง (Self-study) พร้อมทั้งประเมินความถูกต้องโดยอาศัยสื่อการเรียนรู้ต่างๆ
          Step 7 รายงานต่อกลุ่ม (Reporting) ผู้นำรายงานข้อมูลหรือสารสนเทศใหม่ที่ได้มาจากการค้นคว้า เพิ่มเติมมาอภิปรายวิเคราะห์สังเคราะห์เพื่อสรุปเป็นองค์ความรู้

สรุป

                  การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน  เป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เริ่มต้นจากปัญหา ที่เกิดขึ้นโดยการสร้างความรู้จากกระบวนการทำงานกลุ่ม  เพื่อแก้ปัญหาหรือสถานการณ์เกี่ยวกับชีวิตประจำวันที่มีความสำคัญต่อผู้เรียน   มุ่งพัฒนาผู้เรียนในด้านทักษะและกระบวนการเรียนรู้  สามารถเรียนรู้โดยการชี้นำตนเอง สร้างองค์ความรู้  โดยผ่านกระบวนการคิดด้วยการแก้ปัญหา
                   สิ่งสำคัญในการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน คือ  ปัญหา  เพราะปัญหาที่ดีจะเป็นสิ่งกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจใฝ่หาความรู้  ในการเลือกศึกษาปัญหาที่มีประสิทธิภาพ จะต้องคำนึงถึงพื้ฐานความรู้
 รูปแบบของการจัดการเรียนรู้แบบ การใช้ปัญหาเป็นฐาน หรือ  PBL  พอจะกล่าวได้ดังนี้
          1.   ให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้อย่างแท้จริง (student-centered learning)
          2.   จัดกลุ่มผู้เรียนให้มีขนาดเล็ก (ประมาณ 3 – 5  คน)
          3.   ครูทำหน้าที่ เป็นผู้อำนวยความสะดวก (facilitator)   หรือผู้ให้คำแนะนำ  (guide)
          4.   ใช้ปัญหาเป็นตัวกระตุ้น (สิ่งเร้า)ให้เกิดการเรียนรู้
          5.    ลักษญะของปัญหาที่นำมาใช้ ต้องมีลักษณะคลุมเครือ  ไม่ชัดเจน  มีวิธีแก้ไขปัญหาได้อย่าง
                 หลากหลาย  อาจมีคำตอบได้ หลายคำตอบ
          6.    ผู้เรียนเป็นผู้แก้ปัญหาโดยการแสวงหาข้อมูลใหม่ ๆ ด้วยตนเอง (self-directed learning)
          7.    การประเมินผล  ใช้การประเมินผลจากสถานการณ์จริง(authentic assessment) ดูจากความ 
 ขั้นตอนของการเรียนโดยให้ปัญหาเป็นฐานมี ดังนี้
           Step 1 อธิบายคำศัพท์ที่ไม่เข้าใจ (Clarifying Unfamiliar Terms) กลุ่มผู้เรียนทำความเข้าใจคำศัพท์   และข้อความที่ปรากฏอยู่ในโจทย์ปัญหาให้ชัดเจน
          Step 2 ตั้งปัญหา (Problem Definition) กลุ่มผู้เรียนร่วมกันระบุประเด็นปัญหาหลักจากโจทย์ปัญหาที่สงสัยหรือต้องการคำตอบหรือคำอธิบายว่าเกี่ยวกับอะไรบ้าง
          Step 3 ระดมสมอง (Brainstorm) กลุ่มผู้เรียนระดมสมองเพื่อตอบหรืออธิบายคำถามสั้นๆ ที่ระบุไว้ในขั้นตอนที่ 2 ให้ครบทุกประเด็น โดยอาศัยความรู้เดิมของสมาชิกกลุ่ม ยึดหลักทุกความคิดเห็นมีค่าไม่ปิดกั้น
          Step 4 การวิเคราะห์ปัญหา (Analyzing the Problem) กลุ่มผู้เรียนอภิปรายรายละเอียดข้อมูลจากการระดมสมองให้เหตุผลวิเคราะห์เชื่อมโยงข้อมูลตั้งสมมติฐานและรวบรวมแนวคิดของกลุ่ม
          Step 5 สร้างประเด็นการเรียนรู้ (Analyzing the Problem) กลุ่มผู้เรียนกำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้เพื่อค้นหาข้อมูลที่จะอธิบายผลการวิเคราะห์ที่ตั้งไว้ กลุ่มร่วมกันสรุปว่าความรู้ส่วนใดรู้แล้ว ส่วนใดที่ยังไม่รู้ จำเป็นต้องไปศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม เพื่อที่จะได้อธิบายปัญหานั้น
          Step 6 ค้นคว้าหาความรู้หรือข้อมูลด้วยตนเอง (Self-study) พร้อมทั้งประเมินความถูกต้องโดยอาศัยสื่อการเรียนรู้ต่างๆ
          Step 7 รายงานต่อกลุ่ม (Reporting) ผู้นำรายงานข้อมูลหรือสารสนเทศใหม่ที่ได้มาจากการค้นคว้า เพิ่มเติมมาอภิปรายวิเคราะห์สังเคราะห์เพื่อสรุปเป็นองค์ความรู้                สามารถในการปฏิบัติ ของผู้เรียน


ที่มา

สุทิน ณ สุวรรณ.[Online] http://suthinnaa.blogspot.com/2012/12/problem-based-learning.html.
วิธีสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน.สืบค้นเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2558.

ยรรยง สินธุ์งาม.[Online] http://www.vcharkarn.com/blog/37131.การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน.
สืบค้นเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2558.

สุธาสินี เจียประเสริฐ.[Online] http://61.19.73.142/km/?p=1194.การเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน.
สืบค้นเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2558.