สมศักดิ์ เจียมทะวงษ์( http://choompu32-tidarat.blogspot.com/2009/07/5_28.html) ได้กล่าวไว้ว่า
องค์ประกอบของการเรียนรู้การที่ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้ในปริมาณมากน้อย
หรือมีประสิทธิภาพเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับองค์ประกอบต่าง ๆ หลายประการ
1. แรงจูงใจ (Motive) คนเราจะเรียนรู้ได้ดีหากเขามีแรงจูงใจสูงในบทเรียน ที่เขาจะเรียน เช่น
เรื่องนั้นแปลกใหม่ น่าตื่นเต้น หรือตรงความต้องการของเขา
2. กระบวนการสอน (Teaching
procedure) แม้ว่าผู้เรียนจะมีความตั้งใจที่จะเรียนเพียงใด
แต่ถ้ากระบวนการสอนของครูไม่ดีพอ
ก็อาจส่งผลให้การเรียนรู้ของผู้เรียนขาดประสิทธิภาพได้
3. กระบวนการเรียน
(Studying
Procedure) การเรียนรู้ของคนเรานั้น เกิดจากการที่ประสาทสัมผัส (Sense)
ได้รับการเร้าจากสิ่งเร้า (Stimulus) บุคคลจะสามารถเรียนรู้และเข้าใจสิ่งเร้านั้นได้ถูกต้องมากน้อยเพียงใดก็ย่อมขึ้นอยู่กับระดับความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้า
และการเรียนรู้นั้นจะมีประสิทธิภาพเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับว่ากระบวนการเรียนของเขานั้นได้มีโอกาสสัมผัสกับสิ่งเร้าโดยตรงมากน้อยเพียงใดด้วย
ดังนั้นการที่ผู้เรียนได้เรียนจากกระบวนการเรียนที่ตนเองได้มีโอกาสสัมผัสมาก ๆ
จะทำให้เกิดความเข้าใจและเกิดการรับรู้ที่ถูกต้องกว่าการเรียนจากคำบอกเล่า
หรือท่องจำอย่างเดียว
https://www.gotoknow.org/posts/502729 ได้กล่าวไว้ว่า
องค์ประกอบของการเรียนการสอนในลักษณะของโครงสร้าง (structure)
และกระบวนการ (process) ในลักษณะโครงสร้าง คือ
แบ่งการเรียนการสอนออกเป็น
วัตถุประสงค์ เนื้อหาสาระ กิจกรรมหรือประสบการณ์การเรียนรู้
และการวัดและประเมินผลการเรียนรู้
ในขณะที่การแบ่งตามกระบวนการนั้น โดยทั่วไปมักใช้เป็นขั้นตอน ได้แก่
ขั้นนำ ขั้นสอนและขั้นสรุป
โดยหากจะขยายออกไปตามแนวคิดการปรากฏขึ้นของการสอนของ Gagne ก็จะทำให้สามารถแบ่งองค์ประกอบของการเรียนการสอนไปตามขั้นตอนต่างๆ 9
ขั้นตอน ประกอบด้วย การทำให้ผู้เรียนเกิดความตั้งใจ การแจ้งวัตถุประสงค์ การนำเสนอเนื้อหา การทบทวนความรู้และประสบการณ์เดิม การนำเสนอเนื้อหา การให้คำแนะนำโดยครู การให้ฝึกปฏิบัติด้วยตนเอง การให้ผลป้อนกลับ การประเมินและการถ่ายโอนการเรียนรู้ อย่างไรก็ตาม จะเห็นว่า
แม้จะมีการแบ่งขั้นตอนของการเรียนการสอนออกเป็นโครงสร้างหรือลำดับต่างๆ
แล้วก็ตาม แต่โดยสรุปแล้ว
สภาพหรือปรากฏการณ์ของการเกิดการเรียนการสอนดังที่กล่าวมานั้น
ย่อมมีองค์ประกอบที่สำคัญอยู่สามประการ ได้แก่
การเกิดขึ้นของ
การนำเสนอสาระการเรียนรู้
การเกิดขึ้นของการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยอิสระ
และการเกิดขึ้นของปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูและผู้เรียน ซึ่งองค์ประกอบดังกล่าว
อาจจะถือเป็นองค์ประกอบสำคัญที่สามารถนำไปพิจารณาการออกแบบการจัดการเรียนการสอน (instructional
design) ได้
http://pichaikum.blogspot.com/2008/11/blog-post.html ได้กล่าวไว้ว่า
องค์ประกอบของการจัดการเรียนรู้
1. ผู้สอน
เป็นผู้ที่มีความสำคัญในการที่จะแปลมาตรฐานการเรียนรู้และสาระการเรียนรู้ที่เป็น
ตัวหนังสือให้เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสม น่าสนใจ
และมีกระบวนการเรียนรู้หลากหลายวิธีอย่างอิสระ
จะต้องรู้จักเลือกปรับปรุงเทคนิคและวิธีการเรียนรู้ และกิจกรรมการเรียนรู้
ให้เหมาะสมกับเนื้อหาและผู้เรียนโดยไม่ใช้วิธีการเดียว
ควรมีการดัดแปลงและเลือกใช้วิธีการให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์และเนื้อหาในแต่ละเรื่อง
เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้
2. ผู้เรียน
เป็นอีกองค์ประกอบหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการจัดการเรียนรู้
ผู้เรียนแต่ละคนมีความแตกต่างกันทั้งบุคลิกภาพ สติปัญญา ความถนัด
ความสนใจและความสมบูรณ์ของร่างกาย ผู้เรียนควรมีโอกาสร่วมคิด
ร่วมวางแผนในการจัดการเรียนการสอน และมีโอกาสเลือกวิธีเรียนได้อย่างหลากหลาย
ตามความเหมาะสมภายใต้การแนะนำของผู้สอน
3. เนื้อหาวิชาต่างๆ
ซึ่งผู้สอนจะต้องจัดเนื้อหาวิชาให้มีความสัมพันธ์กัน มีความน่าสนใจ เหมาะสมกับวัย
ระดับชั้น รวมทั้งสภาพสิ่งแวดล้อมของการจัดการเรียนรู้
4. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้ ได้แก่
อุปกรณ์ช่วยในการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
5.
สภาพแวดล้อมและบรรยากาศการเรียนรู้
ผู้สอนต้องมีวิธีการที่จะจัดสภาพแวดล้อมและบรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาทางวิชาการ
เช่น จัดห้องชวนคิด ห้องกิจกรรมวิทยาศาสตร์ จัดระบบนิเวศจำลอง
จัดบริเวณโรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ทางชีววิทยา ธรณีวิทยา ฯลฯ
มีการดัดแปลงห้องเรียนให้นักเรียนทำกิจกรรมการเรียนรู้ที่สามารถมีปฏิสัมพันธ์กันได้ดี
และจัดกิจกรรมที่เอื้อให้ผู้ปกครองและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วย
สรุป
การที่ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสอิทธิภาพมากน้อยเพียงใด
ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบการเรียนรู้ต่างๆหลายประการ
1.
ผู้เรียน คือ ผู้เรียนมีความพร้อมที่จะเรียน
มีความสนใจความต้องการที่จะเรียน
2.
บทเรียน คือ ความยากง่ายของบทเรียน
ครูควรเลือกกิจการการสอนที่ดีที่สุดเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
3.
สิ่งแวดล้อม คือ
ต้องมีบรรยากาศในชั้นเรียนดี
มีมนุษย์สัมพันธ์อันดีระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน
4. แรงจูงใจ และกระบวนการสอน คือ
ต้องมีการสอนที่จูงใจ หรือทำให้ผู้เกิดการอยากเรียน
5.
การประยุกต์ใช้หรือลงมือปฏิบัติ
เป็นองค์ประกอบที่ผู้เรียนได้นำความคิดรวบรวมหรือข้อสรุปหรือความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้นไปประยุกต์หรือทดลองใช้ หรือเป็นการแสดงผลสำเร็จของการเรียนรู้ในองค์ประกอบนั้น
ๆ ซึ่งผู้สอนสามารถใช้กิจกรรมในองค์ประกอบนี้ในการประเมินผลการเรียนรู้
ที่มา
สมศักดิ์ เจียมทะวงษ์.[online] http://choompu32-tidarat.blogspot.com/2009/07/5_28.html.องค์ประกอบการเรียนรู้มีอะไรบ้าง.สืบค้นเมื่อ 26 มิถุนายน 2558.
https://www.gotoknow.org/posts/502729.องค์ประกอบของการเรียนการสอน.
สืบค้นเมื่อ 26 มิถุนายน 2558.
http://pichaikum.blogspot.com/2008/11/blog-post.html.องค์ประกอบการจัดการเรียนรู้.
สืบค้นเมื่อ 26 มิถุนายน 2558.
สมศักดิ์ เจียมทะวงษ์( http://choompu32-tidarat.blogspot.com/2009/07/5_28.html) ได้กล่าวไว้ว่า
องค์ประกอบของการเรียนรู้การที่ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้ในปริมาณมากน้อย
หรือมีประสิทธิภาพเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับองค์ประกอบต่าง ๆ หลายประการ
1. แรงจูงใจ (Motive) คนเราจะเรียนรู้ได้ดีหากเขามีแรงจูงใจสูงในบทเรียน ที่เขาจะเรียน เช่น
เรื่องนั้นแปลกใหม่ น่าตื่นเต้น หรือตรงความต้องการของเขา
2. กระบวนการสอน (Teaching
procedure) แม้ว่าผู้เรียนจะมีความตั้งใจที่จะเรียนเพียงใด
แต่ถ้ากระบวนการสอนของครูไม่ดีพอ
ก็อาจส่งผลให้การเรียนรู้ของผู้เรียนขาดประสิทธิภาพได้
3. กระบวนการเรียน
(Studying
Procedure) การเรียนรู้ของคนเรานั้น เกิดจากการที่ประสาทสัมผัส (Sense)
ได้รับการเร้าจากสิ่งเร้า (Stimulus) บุคคลจะสามารถเรียนรู้และเข้าใจสิ่งเร้านั้นได้ถูกต้องมากน้อยเพียงใดก็ย่อมขึ้นอยู่กับระดับความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้า
และการเรียนรู้นั้นจะมีประสิทธิภาพเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับว่ากระบวนการเรียนของเขานั้นได้มีโอกาสสัมผัสกับสิ่งเร้าโดยตรงมากน้อยเพียงใดด้วย
ดังนั้นการที่ผู้เรียนได้เรียนจากกระบวนการเรียนที่ตนเองได้มีโอกาสสัมผัสมาก ๆ
จะทำให้เกิดความเข้าใจและเกิดการรับรู้ที่ถูกต้องกว่าการเรียนจากคำบอกเล่า
หรือท่องจำอย่างเดียว
https://www.gotoknow.org/posts/502729 ได้กล่าวไว้ว่า
องค์ประกอบของการเรียนการสอนในลักษณะของโครงสร้าง (structure)
และกระบวนการ (process) ในลักษณะโครงสร้าง คือ
แบ่งการเรียนการสอนออกเป็น
วัตถุประสงค์ เนื้อหาสาระ กิจกรรมหรือประสบการณ์การเรียนรู้
และการวัดและประเมินผลการเรียนรู้
ในขณะที่การแบ่งตามกระบวนการนั้น โดยทั่วไปมักใช้เป็นขั้นตอน ได้แก่
ขั้นนำ ขั้นสอนและขั้นสรุป
โดยหากจะขยายออกไปตามแนวคิดการปรากฏขึ้นของการสอนของ Gagne ก็จะทำให้สามารถแบ่งองค์ประกอบของการเรียนการสอนไปตามขั้นตอนต่างๆ 9
ขั้นตอน ประกอบด้วย การทำให้ผู้เรียนเกิดความตั้งใจ การแจ้งวัตถุประสงค์ การนำเสนอเนื้อหา การทบทวนความรู้และประสบการณ์เดิม การนำเสนอเนื้อหา การให้คำแนะนำโดยครู การให้ฝึกปฏิบัติด้วยตนเอง การให้ผลป้อนกลับ การประเมินและการถ่ายโอนการเรียนรู้ อย่างไรก็ตาม จะเห็นว่า
แม้จะมีการแบ่งขั้นตอนของการเรียนการสอนออกเป็นโครงสร้างหรือลำดับต่างๆ
แล้วก็ตาม แต่โดยสรุปแล้ว
สภาพหรือปรากฏการณ์ของการเกิดการเรียนการสอนดังที่กล่าวมานั้น
ย่อมมีองค์ประกอบที่สำคัญอยู่สามประการ ได้แก่
การเกิดขึ้นของ
การนำเสนอสาระการเรียนรู้
การเกิดขึ้นของการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยอิสระ
และการเกิดขึ้นของปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูและผู้เรียน ซึ่งองค์ประกอบดังกล่าว
อาจจะถือเป็นองค์ประกอบสำคัญที่สามารถนำไปพิจารณาการออกแบบการจัดการเรียนการสอน (instructional
design) ได้
http://pichaikum.blogspot.com/2008/11/blog-post.html ได้กล่าวไว้ว่า
องค์ประกอบของการจัดการเรียนรู้
1. ผู้สอน
เป็นผู้ที่มีความสำคัญในการที่จะแปลมาตรฐานการเรียนรู้และสาระการเรียนรู้ที่เป็น
ตัวหนังสือให้เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสม น่าสนใจ
และมีกระบวนการเรียนรู้หลากหลายวิธีอย่างอิสระ
จะต้องรู้จักเลือกปรับปรุงเทคนิคและวิธีการเรียนรู้ และกิจกรรมการเรียนรู้
ให้เหมาะสมกับเนื้อหาและผู้เรียนโดยไม่ใช้วิธีการเดียว
ควรมีการดัดแปลงและเลือกใช้วิธีการให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์และเนื้อหาในแต่ละเรื่อง
เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้
2. ผู้เรียน
เป็นอีกองค์ประกอบหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการจัดการเรียนรู้
ผู้เรียนแต่ละคนมีความแตกต่างกันทั้งบุคลิกภาพ สติปัญญา ความถนัด
ความสนใจและความสมบูรณ์ของร่างกาย ผู้เรียนควรมีโอกาสร่วมคิด
ร่วมวางแผนในการจัดการเรียนการสอน และมีโอกาสเลือกวิธีเรียนได้อย่างหลากหลาย
ตามความเหมาะสมภายใต้การแนะนำของผู้สอน
3. เนื้อหาวิชาต่างๆ
ซึ่งผู้สอนจะต้องจัดเนื้อหาวิชาให้มีความสัมพันธ์กัน มีความน่าสนใจ เหมาะสมกับวัย
ระดับชั้น รวมทั้งสภาพสิ่งแวดล้อมของการจัดการเรียนรู้
4. สื่อ/แหล่งการเรียนรู้ ได้แก่
อุปกรณ์ช่วยในการจัดการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
5.
สภาพแวดล้อมและบรรยากาศการเรียนรู้
ผู้สอนต้องมีวิธีการที่จะจัดสภาพแวดล้อมและบรรยากาศที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาทางวิชาการ
เช่น จัดห้องชวนคิด ห้องกิจกรรมวิทยาศาสตร์ จัดระบบนิเวศจำลอง
จัดบริเวณโรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ทางชีววิทยา ธรณีวิทยา ฯลฯ
มีการดัดแปลงห้องเรียนให้นักเรียนทำกิจกรรมการเรียนรู้ที่สามารถมีปฏิสัมพันธ์กันได้ดี
และจัดกิจกรรมที่เอื้อให้ผู้ปกครองและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วย
สรุป
การที่ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสอิทธิภาพมากน้อยเพียงใด
ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบการเรียนรู้ต่างๆหลายประการ
1.
ผู้เรียน คือ ผู้เรียนมีความพร้อมที่จะเรียน
มีความสนใจความต้องการที่จะเรียน
2.
บทเรียน คือ ความยากง่ายของบทเรียน
ครูควรเลือกกิจการการสอนที่ดีที่สุดเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
3.
สิ่งแวดล้อม คือ
ต้องมีบรรยากาศในชั้นเรียนดี
มีมนุษย์สัมพันธ์อันดีระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน
4. แรงจูงใจ และกระบวนการสอน คือ
ต้องมีการสอนที่จูงใจ หรือทำให้ผู้เกิดการอยากเรียน
5.
การประยุกต์ใช้หรือลงมือปฏิบัติ
เป็นองค์ประกอบที่ผู้เรียนได้นำความคิดรวบรวมหรือข้อสรุปหรือความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้นไปประยุกต์หรือทดลองใช้ หรือเป็นการแสดงผลสำเร็จของการเรียนรู้ในองค์ประกอบนั้น
ๆ ซึ่งผู้สอนสามารถใช้กิจกรรมในองค์ประกอบนี้ในการประเมินผลการเรียนรู้
ที่มา
สมศักดิ์ เจียมทะวงษ์.[online] http://choompu32-tidarat.blogspot.com/2009/07/5_28.html.องค์ประกอบการเรียนรู้มีอะไรบ้าง.สืบค้นเมื่อ 26 มิถุนายน 2558.
https://www.gotoknow.org/posts/502729.องค์ประกอบของการเรียนการสอน.
สืบค้นเมื่อ 26 มิถุนายน 2558.
http://pichaikum.blogspot.com/2008/11/blog-post.html.องค์ประกอบการจัดการเรียนรู้.
สืบค้นเมื่อ 26 มิถุนายน 2558.
สืบค้นเมื่อ 26 มิถุนายน 2558.
http://pichaikum.blogspot.com/2008/11/blog-post.html.องค์ประกอบการจัดการเรียนรู้.
สืบค้นเมื่อ 26 มิถุนายน 2558.