หลักการสำคัญของการเรียนรู้นั่นเอง ซึ่งหลักการนั้นมีอยู่ 4
ประการดังต่อไปนี้
1. ผู้เรียนควรจะมีส่วนร่วมในการเรียนรู้อย่างจริงจัง (Active Participation) หมายความว่า เมื่อครูสอนนักเรียนก็จะต้องมีส่วนร่วมในกิจกรรมการสอนของครูทั้งกายและใจ นักเรียนที่นั่งเหม่อลอยหรือนั่งหลับในขณะที่ครูสอนถือว่าไม่มีส่วนร่วมมากนัก นักเรียนที่ไม่ยอมคิดเมื่อครูถามคำถามก็ถือว่า ไม่มีส่วนร่วมในการเรียนการสอน นักเรียนที่ลอกการบ้านเพื่อนแทนที่จะทำเอง ถือว่ามีส่วนร่วมเหมือนกันแต่ไม่เข้าขั้น active นักเรียนที่เข้าห้องปฏิบัติการแต่ไม่ยอมทำอะไรเองคอยอาศัยแต่เพื่อน ก็ถือว่าไม่มีส่วนร่วมอย่างจริงจังเช่นกัน ด้วยเหตุนี้เองผู้หลักผู้ใหญ่สมัยก่อนเขาจึงสอนเด็ก ๆ ว่า “จะต้องเป็นคนเอาตาดู เอาหูฟัง และเอาใจใส่” กับเรื่องรอบ ๆ ตัว จึงจะเฉลียวฉลาดทันคน เพราะฉะนั้นคำถามสำหรับคนเป็นครูในหลักการข้อนี้ ก็คือ
1. ผู้เรียนควรจะมีส่วนร่วมในการเรียนรู้อย่างจริงจัง (Active Participation) หมายความว่า เมื่อครูสอนนักเรียนก็จะต้องมีส่วนร่วมในกิจกรรมการสอนของครูทั้งกายและใจ นักเรียนที่นั่งเหม่อลอยหรือนั่งหลับในขณะที่ครูสอนถือว่าไม่มีส่วนร่วมมากนัก นักเรียนที่ไม่ยอมคิดเมื่อครูถามคำถามก็ถือว่า ไม่มีส่วนร่วมในการเรียนการสอน นักเรียนที่ลอกการบ้านเพื่อนแทนที่จะทำเอง ถือว่ามีส่วนร่วมเหมือนกันแต่ไม่เข้าขั้น active นักเรียนที่เข้าห้องปฏิบัติการแต่ไม่ยอมทำอะไรเองคอยอาศัยแต่เพื่อน ก็ถือว่าไม่มีส่วนร่วมอย่างจริงจังเช่นกัน ด้วยเหตุนี้เองผู้หลักผู้ใหญ่สมัยก่อนเขาจึงสอนเด็ก ๆ ว่า “จะต้องเป็นคนเอาตาดู เอาหูฟัง และเอาใจใส่” กับเรื่องรอบ ๆ ตัว จึงจะเฉลียวฉลาดทันคน เพราะฉะนั้นคำถามสำหรับคนเป็นครูในหลักการข้อนี้ ก็คือ
- ทำอย่างไรจึงจะทำให้นักเรียนเข้าเรียนโดยเอาตาดู เอาหูฟัง
และเอาใจใส่
-
ทำอย่างไรจึงจะทำให้นักเรียนเข้าห้องปฏิบัติการและลงมือทำการทดลองด้วยตนเอง
- ทำอย่างไรจึงจะทำให้นักเรียนคิดเมื่อครูถามคำถาม
- ทำอย่างไรจึงจะทำให้นักเรียนทำการบ้านด้วยตนเอง
ครูจำนวนไม่น้อยที่ชอบคิดว่าพฤติกรรมการมีส่วนร่วมอย่างจริงจังนี้เป็นหน้าที่ของผู้เรียนโดยตรง
เพราะครูมีหน้าที่สอนเท่านั้น เข้าทำนองที่ว่า “นี่คือเรื่องของเธอ” “เรื่องของฉันคือสอน เรื่องของเธอคือเรียน” แท้ที่จริงแล้ว ส่วนหนึ่งของการสอนก็คือการทำให้นักเรียนมีส่วนร่วมอย่างจริงจังนั่นเอง
2. ผู้เรียนควรจะได้เรียนรู้ทีละขั้นทีละตอนจากง่ายไปสู่ยากและจากไม่ซับซ้อนไปสู่รูปที่ซับซ้อน (Gradual approximation) ตัวอย่างเช่น เด็ก ๆ ต้องบวกลบเลขเป็นเสียก่อนจึงจะสามารถเรียนรู้การคูณและการหาร คนเราต้องพูดเป็นคำ ๆ ได้เสียก่อนจึงจะสามารถพูดเป็นประโยคได้ หรือต้องเดินให้ได้เสียก่อน แล้วจึงวิ่งค่อยเหยาะ ๆ จากนั้นจึงวิ่งเร็ว ๆ เช่นนี้เป็นต้น ครูที่หวังจะสอนนักเรียนให้เกิดการเรียนรู้จึงต้อง รู้จักแบ่งเนื้อหา และจัดลำดับเนื้อหาตามความยากง่าย แล้วจึงนำมาสอนทีละขั้นทีละตอนอย่างเหมาะสม
2. ผู้เรียนควรจะได้เรียนรู้ทีละขั้นทีละตอนจากง่ายไปสู่ยากและจากไม่ซับซ้อนไปสู่รูปที่ซับซ้อน (Gradual approximation) ตัวอย่างเช่น เด็ก ๆ ต้องบวกลบเลขเป็นเสียก่อนจึงจะสามารถเรียนรู้การคูณและการหาร คนเราต้องพูดเป็นคำ ๆ ได้เสียก่อนจึงจะสามารถพูดเป็นประโยคได้ หรือต้องเดินให้ได้เสียก่อน แล้วจึงวิ่งค่อยเหยาะ ๆ จากนั้นจึงวิ่งเร็ว ๆ เช่นนี้เป็นต้น ครูที่หวังจะสอนนักเรียนให้เกิดการเรียนรู้จึงต้อง รู้จักแบ่งเนื้อหา และจัดลำดับเนื้อหาตามความยากง่าย แล้วจึงนำมาสอนทีละขั้นทีละตอนอย่างเหมาะสม
ขอให้สังเกตภาพต่อไปนี้
ทั้งสามภาพนี้คือบันไดที่สร้างความรู้สึกแตกต่างกันให้แก่ผู้ที่จะต้องปีน
ภาพที่ 1
เป็นบันไดที่ผู้ปีนเกิดความรู้สึกเบื่อหน่ายมากเพราะปีนตั้งนานก็ไม่ไปถึงไหน
ภาพที่ 2 เป็นบันไดที่ผู้ปีนเกิดความรู้สึกประหวั่นพรั่นพรึงมาก
เพราะมันยากมากที่จะปีน ขึ้นไปได้
ภาพที่ 3 เป็นบันไดที่ผู้ปีนสบายใจ เพราะอยู่ในวิสัยที่ทำได้
จึงเกิดความมั่นใจที่จะปีน
การจัดลำดับความยากง่ายของเนื้อหาก็ต้องเป็นไปอย่างเหมาะสมในทำนองนี้เช่นกัน
3. หลักการที่สาม คือ ให้นักเรียนได้รับข้อมูลย้อนกลับที่เหมาะสมและไม่เนิ่นนานจนเกินไป
(Immediate feedback) เมื่อนักเรียนได้ทำกิจกรรมตามคำแนะนำหรือคำสั่งของครูไป
แล้วเขาก็มักอยากจะ รู้ว่าสิ่งที่เขาทำนั้นถูกต้องแล้วหรือยัง
ถ้าเขาได้รับข้อมูลย้อนกลับทันการและเหมาะสมเขาก็จะเกิดการเรียนรู้
ที่ดีรวมทั้งเกิดความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้ต่อไป
แต่ถ้าเขาไม่ได้รับข้อมูลย้อนกลับหรือต้องคอยเป็นเวลานานจึงจะได้รับเขาจะเกิดการเรียนรู้น้อย
และในขณะเดียวกันความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ก็จะมีไม่มาก
เพราะฉะนั้นครูจึงควรตระหนักในสิ่งต่อไปนี้
- เมื่อเด็กตอบคำถามเขาจะต้องได้รับการบอกกล่าวว่าคำตอบของเขานั้นถูกหรือผิดประการใด
- เมื่อเด็กการบ้านมาส่ง ครูต้องตรวจ และให้คำแนะนำให้เร็วที่สุด
เท่าที่จะเร็วได้
- เมื่อเด็กแสดงพฤติกรรมในการเรียนรู้ภาคปฏิบัติทักษะ
ครูต้องคอยดูและคอยบอกว่าเขาปฏิบัติได้ถูกต้องแล้วหรือยัง และสิ่งที่สำคัญที่สุดอีกประการหนึ่งที่การให้ข้อมูลย้อนกลับก็คือนอกจากจะต้องไม่ปล่อยให้เนิ่นนานเกินไปแล้ว
ครูต้องบอกเขาด้วยว่าสิ่งที่เขาทำนั้น “ถูกต้องอย่างไร” และ “ยังไม่ถูกต้องอย่างไร” ไม่ใช่เพียงแต่บอกว่าถูกหรือผิดเท่านั้น นอกจากนั้น วิธีบอกหรือ Approach ของครูก็ควรจะไม่ทำลายความรู้สึกดี ๆ ของเด็กด้วย เช่น
การที่จะบอกว่าคำตอบของเด็กไม่ถูกต้อง อาจจะมีได้หลายวิธี เช่น
- พูดด้วยหน้าตาบึ้งตึง น้ำเสียงกราดเกรี้ยวว่า “ผิดใช้ไม่ได้”
- พูดด้วยหน้าตาราบเรียบ เฉยเมยว่า “ผิด”
- พูดด้วยหน้าตาราบเรียบ เฉยเมยว่า “ผิด”
- เขียนด้วยเครื่องหมายกากบาทขนาดมหึมาด้วยปากกาสีแดง
- ไม่เขียนเครื่องหมายผิดแต่เขียนคำอธิบายว่ามันยังไม่ถูกต้องอย่างไรด้วยปากกาหมึกแดงหรือสะท้อนแสง
- พูดยิ้ม ๆ ด้วยน้ำเสียงแฝงความเมตตาว่า “เกือบใช้ได้แล้ว เพียงแต่เธอลืมหรือสะเพร่าไปนิดเดียวเอง
คราวหน้าต้องรอบคอบหน่อยนะ”
ครูที่ปรารถนาจะให้กำลังใจเด็กเพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ก็สามารถเลือกวิธีการให้เหมาะกับอุปนิสัยของเด็กได้
โปรดอย่าลืมว่า การให้ข้อมูลย้อนกลับเชิงบวก ดีที่สุด การให้ข้อมูลย้อนกลับเชิงลบ
ไม่ค่อยดีนักในแง่จิตวิทยาแต่ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้ การไม่ให้ข้อมูลย้อนกลับใด ๆ แย่ที่สุด เพราะไม่ช่วยอะไรผู้เรียนเลย
4. หลักการข้อที่สี่ การเสริมแรงหรือให้กำลังใจที่เหมาะสม (Appropriate Reinforcement)
ผู้เรียนทุกคนไม่ว่าอายุมากหรืออายุน้อย ไม่ว่าหญิงหรือชาย
ล้วนต้องการกำลังใจหรือการเสริมแรงเพื่อให้ฟันฝ่าอุปสรรค แสวงหาความรู้ต่อไป
ซึ่งการให้กำลังใจของครูอาจจะกระทำได้หลายวิธีด้วยกัน เช่น
- เมื่อเด็กพยายามจะเล่าถึงความสำเร็จในการเรียนรู้ของเราเองให้ครูฟัง
ครูก็ควรต้องมีเวลาฟัง
- เมื่อเด็กมีคำถามและนำมาปรึกษา ครูก็ให้คำปรึกษาด้วยความเต็มใจ
- เมื่อเด็กทำงานถูกต้องตามที่ควรจะเป็น ครูก็ชมเชย
- เมื่อเด็กมีผลงานอยู่ในระดับดีมาก สามารถเป็นแบบอย่างแก่ผู้อื่นได้
ครูก็ยกย่องให้ปรากฏ
- เมื่อเด็กมีผลงานที่ถูกต้อง แม้ไม่สมบูรณ์แบบ
ครูก็ชมเชยในส่วนที่ถูกและชี้แนะในสิ่งที่ผิด
การเสริมแรงหรือการให้กำลังใจที่ดีจะต้องมีความพอเหมาะพอสมกับผลงาน
คือ ไม่ชมเชยจนเกินความเป็นจริง เพราะจะทำให้ขาดความน่าเชื่อถือ
แต่ก็ต้องไม่น้อยจนเกินไป เช่น สำหรับเด็ก นักศึกษาชั้นปีที่ 1
ที่มีผลการเรียนเฉลี่ย 3.39 อาจารย์ที่ปรึกษาก็น่าจะพูดชมเชยด้วย เพราะการยิ้ม ๆ
อย่างเดียวก็น่าจะน้อยเกินไป แต่สำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาอาจจะไม่ต้องพูดชมเชยด้วยก็ได้เพราะเขาโตแล้ว
หลักการที่สำคัญในการเรียนรู้ทั้งสี่ประการที่ได้กล่าวมานี้เป็นหลักการเรียนรู้ทั่วไป
ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการเรียนรู้ได้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ไม่เลือกเพศ
ไม่เลือกวัย จะนำไปใช้กับเด็กเล็ก ๆ 4-5 ขวบ หรือจะนำไปใช้กับนักศึกษาปริญญาเอกอายุ
30-40 ปี ก็ย่อมได้เสมอ
หลักการนี้เป็นหลักการที่มีการใช้มาและประสบความสำเร็จตั้งแต่สมัยพุทธกาล
จนกระทั่งถึงปัจจุบัน เพราะฉะนั้นหากท่านจะทดลองนำไปใช้ดูบ้าง
ก็น่าจะประสบผลสำเร็จได้โดยง่ายเช่นกัน
อมรรัตน์ จันทวงค์ (https://www.gotoknow.org/posts/39420) ได้กล่าวถึงความสำคัญของการเรียนรู้ไว้ว่า การเรียนรู้ด้วยตนเองนั้นจึงเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างมากเพราะจะทำให้กลายเป็นคนที่ขยันแสวงหาความรู้ใส่ตัวเองและในสักวันความรู้ที่ได้มาอาจจะนำมาใช้ประโยชน์ได้เมื่อมีความจำเป็น ขยันหาความรู้ด้วยตัวเอง เพราะการเรียนรู้เป็นสิ่งที่ไม่ยาก ถ้ามีความขยันหมั่นเพียร การเรียนรู้ด้วยตนเองนั้น มีวิธีการที่หลากหลายซึ่งขึ้นอยู่กับความสามรถของแต่ละบุคคลhttp://mbaconduct.blogspot.com/2012/05/blog-post.html ได้กล่าวถึงความสำคัญของการเรียนรู้ไว้ว่า
1. บุคคลที่เรียนรู้ด้วยการริเริ่มของตนจะเรียนได้มากกว่า ดีกว่าบุคคลที่เป็นเพียงผู้รับหรือรอให้ผู้สอนถ่ายทอดวิชาความรู้ให้ บุคคลที่เรียนรู้ด้วยตนเองจะเรียนอย่างตั้งใจ มีจุดมุ่งหมายและมีแรงจูงใจสูง สามารถใช้ประโยชน์จากการเรียนรู้ได้ดีกว่า และยาวนานกว่าบุคคลที่รอรับการสอนแต่อย่างเดียว
2. การเรียนรู้ด้วยตนเอง มีความสอดคล้องกับกระบวนการทางธรรมชาติของจิตวิทยาพัฒนาการ เมื่อแรกเกิดบุคคลต้องพึ่งผู้อื่น จำเป็นต้องมีบิดามารดาปกป้องและตัดสินใจแทน แต่เมื่อบุคคลเติบโตขึ้นมีความเป็นผู้ใหญ่มากขึ้นจะค่อย ๆ พัฒนาตนเองไปสู่ความเป็นอิสระไม่ต้องพึ่งผู้อื่น ไม่ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมหรือกำกับของผู้อื่นจะมีความเป็นตัวของตัวเองเพิ่มขึ้น สามารถดำเนินชีวิตได้ด้วยตนเอง และชี้นำตนเองได้
3. มีนวัตกรรมทางการศึกษาเพิ่มขึ้นมาก เช่น มีหลักสูตรใหม่ ห้องเรียนแบบเปิด ศูนย์วิทยบริการ การศึกษาอย่างอิสระ โปรแกรมการเรียนที่จุดสำหรับบุคคล ภายนอก การศึกษาระบบมหาวิทยาลัยเปิด เป็นต้น รูปแบบของนวัตกรรมเหล่านี้ล้วนแต่เป็นความรับผิดชอบของผู้เรียนที่จะต้องเริ่มจากการริเริ่ม การเรียนรู้ด้วยตนเอง
4. ความเปลี่ยนแปลงของโลกหลาย ๆ ด้านอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดแนวคิดใหม่ในการศึกษา ได้แก่
4.1 ความรู้ต่าง ๆ ที่มนุษย์เรียนรู้ และสะสมไว้จะค่อย ๆ ล้าสมัยและหมดไปภายในเวลา 10 ปี หรือน้อย ดังนั้นจึงต้องพัฒนาทักษะดังกล่าวเมื่อบุคคลจบการศึกษาไปแล้วก็ยังสามารถแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ เพื่อพัฒนาตนเองให้มีความรู้ใหม่เท่าทันโลก
4.2 ความหมายของ "การเรียนรู้" หมายถึง การที่ผู้เรียนเริ่มเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ จากสิ่งแวดล้อมรอบตัวผู้เรียน เช่น เรียนรู้จากบิดา มารดา เพื่อน ครู สถาบันต่าง ๆ หรือจากสื่อมวลชน เป็นต้น นั่นก็คือ การเรียนรู้จะเป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิต และบุคคลสามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต
4.3 การเรียนรู้ด้วยตนเอง จะไม่จำกัดอายุผู้เรียน ผู้เรียนมีโอกาสที่จะตัดสินใจเลือกเรียนตามความสนใจและความต้องการที่จะเรียนรู้ผู้เรียนที่อยู่ในวัยเยาว์ควรเน้นทักษะ การเรียนรู้ด้วยตนเอง เพื่อจะได้ใช้ทักษะนี้ในการแสวงหาความรู้ให้ทันต่อเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงของโลก
สรุป
การเรียนรู้ถือเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับมนุษย์ มนุษย์สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง เรียนรู้จากผู้อื่น หรือแม้กระทั่งสิ่งต่างๆรอบตัว ซึ่งการเรียนรู้แต่ละแบบนั้นสามารถเรียนรู้ได้อย่างหลากหลายวิธี การเรียนรู้จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้มนุษย์เกิดการพัฒนาตัวเอง และสิ่งต่างๆให้เกิดประโยชน์
ที่มา
ชาญชัย อินทรประวัติ. [online]. http://www.kroobannok.com/blog/45566 . หลักการความสำคัญของการเรียนรู้.สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2558.
อมรรัตน์ จันทวงค์. [online]. https://www.gotoknow.org/posts/39420. การเรียนรู้ด้วยตนเอง. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2558.